วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559

ชื่อวิชา:การวิเคราะห์วงจอิเล็กทรอนิกส์ รหัสวิชา 3105-1003 จำนวน 2หน่วยกิจ 2(1-2-5)
จุดประสงค์:
              1.เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจคุณสมบัติของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในวงจรย่านความถี่ต่ำ
              2.เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการวิเคราะห์การทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในวงจรย่านความถี่ต่ำ
              3.เพื่อให้มีนักเรียนมีทักษะในการประยุกต์ใช้งานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในวงจรย่านความถี่ต่ำ
              4.สามารถอธิบายคุณสมบัติของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในวงจรย่านความถี่ต่ำได้
              5.สามารถลงมือปฎิบัติงานโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในวงจรย่านความถี่ต่ำได้
              6.สามารถวิเคราะห์การทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในวงจรย่านความถี่ต่ำได้

คำอธิบายรายวิชา:
             ศึกษาและปฎิบัติ คุณสมบัติทางไฟฟ้า พารามิเมอร์และการใช้งานของไดโอด ทรานซิสเตอร์และเฟต การแปลงความหมายจาก DATA SHEET  การใช้ไบแอส การวิเคราะห์และออกแบบวงจรแหล่งจ่ายกำลัง วงจรในย่านความถี่สำหรับสัญญาณขนาดเล็ก วงจรขยายสัญญาณหลายภาค วงจรขยายเนกาทีฟฟีดเบ็กและวงจรขยายกำลัง

การวัดและประเมินผล
           (ใช้หลักการของบลูม)
            ด้านพุทธพิสัย:นักเรียนมีความรู้และเข้าใจคุณสมบัติของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในวงจรย่าน ความถี่ต่ำโดยการทำแบบทดสอบก่อน/หลังเรียน พร้อมตั้งคำถาม-ตอบระหว่างเรียน เพื่อให้นักเรียนเช้าใจเนื้อหามากขึ้น
            ด้านจิตพิสัย: วัดจากการสังเกตพฤติกรรมการตั้งใจเรียน ความขยัน และความใผ่รู้ในการเรียน
            ด้านทักษะพิสัย: นักเรียนสามารถออกแบบและวิเคราะห์การทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในวงจรย่านความถี่ต่ำได้ด้วยตนเองตามข้อกำหนดได้ถูกต้อง

หลักพิจารณาของออนสไตน์และฮันดินส์
           1.กำหนดขอบข่ายหลักสูตร: กำหนดจุดประสงค์ กำหนดเนื้อหาและหัวข้อ
           2.จัดลำดับการเรียนรู้: จัดลำดับเนื้อหาก่อนหลัง
           3.ความต่อเนื่อง:จัดเนื้อหาให้มีความต่อเนื่องทั้งทฤษฎีและปฎิบัติ
           4.ความสอดคล้อง: เนื้อหาที่เป็นทฤษฎีและปฎิบัติต้องสอดคล้องกันและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
           5.ความสมดุล:เนื้อหาหรือประสบการณ์ที่ใช้สอนผู้เรียนต้องไม่ยากและง่ายจนเกินไป

จัดประเภทการเรียนรู้
            เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : ผู้เรียนจะต้องมีส่วนร่วมทุกกิจกรรมในการเรียนการสอน มีการแสดงความคิดเห็น มีปฎิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนและผู้สอน มีการสืบค้นข้อมูล และลงมือปฎิบัติด้วยตัวเอง โดยผู้สอนเป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวกและให้คำปรึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น