วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Curriculum planning
ยืนยันความถูกต้องและการใช้ข้อมูลใหม่    
ปฏิบัติการ : วางแผนการพัฒนาหลักสูตร ( Curriculum Planning )
กระบวนการพัฒนาหลักสูตร/ความรู้/ทักษะ/ความสามารถ
การทำความรู้ให้กระจ่างแจ้ง
การระบุ การได้รับและการเข้าใจข้อมูลใหม่
ยืนยันความถูกต้องและการใช้ข้อมูลใหม่
ทฤษฎี
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ
การวางแผนหลักสูตร
      จากคำถามข้อที่ 1 คือการวางแผนในการกำหนดจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ว่า จะสอนอะไร เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์แบบชั่วคราว หรือ Tentative Objectives เราต้องดูว่าจะสอนอะไรเด็กและจะเอาอะไรมาสอน ทั้งนี้ต้องอาศัยข้อมูลจากแหล่งต่างๆ หรือSourcesแหล่งแรกคือสังคม ได้แก่ ค่านิยม ความเชื่อ และแนวปฏิบัติในการดำรงชีวิตในสังคม โครงสร้างที่สำคัญในสังคม และความมุ่งหวังทางสังคม แหล่งที่สองเกี่ยวกับผู้เรียนซึ่งเกี่ยวข้องกับความต้องการความสนใจความสามารถและคุณลักษณะที่ประเทศชาติต้องการ แหล่งที่สามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ
         ไทเลอร์ให้คำแนะนำการวางแผนหลักสูตร 3 ประเด็น คือ การเลือกประสบการณ์เรียนรู้ การจัดระบบโครงสร้างประสบการณ์เรียนรู้ และการประเมินผลการเรียนรู้ ซึ่งผู้สอนต้องจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่มุ่งจะ:
1. พัฒนาทักษะการคิด
2. ช่วยให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ
3. ช่วยให้ได้พัฒนาเจตคติเชิงสังคม
4.ช่วยให้ได้พัฒนาความสนใจ
     ปรัชญาการศึกษา
1. ปรัชญาสารนิยม หรือสารัตถนิยม (Essentialism)
เป็นปรัชญาที่เชื่อว่า การศึกษาเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดความรู้ความจริงทางธรรมชาติ
2. ปรัชญาสาขาสัจวิทยานิยม หรือสัจนิยมวิทยา หรือนิรันตรนิยม(Perenialism)
เป็นปรัชญาที่เชื่อว่าโลกนี้มีบางสิ่งที่มีคุณค่าถาวร ไม่เปลี่ยนแปลง ที่เราควรอนุรักษ์และถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังต่อไป
3. ปรัชญาพิพัฒนาการนิยม หรือพิพัฒนนิยม หรือวิวัฒนาการนิยม(Progressivism)
เป็นปรัชญาที่มีความเชื่อว่าการดำรงชีวิตที่ดี ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการคิดที่ดีและการกระทำที่เหมาะสม
4. ปรัชญาสาขาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism)
เป็นปรัชญาที่เชื่อว่า การปฏิรูปสังคม เป็นหน้าที่ของสมาชิกของคนในสังคมทุกคน และการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมได้
5. ปรัชญาสาขาอัตถิภาวนิยม หรืออัตนิยม หรือสวภาพนิยม(Existentialism) เป็นปรัชญาที่เชื่อในความมีอยู่เป็นอยู่ของมนุษย์ มนุษย์แต่ละคนจะต้องกำหนดหรือแสวงหาสาระสำคัญ (essence) ด้วยตนเอง

3Rs7Cs
      เป็นหลักการเกี่ยวทักษะที่สำคัญที่ผู้เรียนพึงมีในศตวรรษที่21 ซึ่งหลักสูตรต้องส่งเสริมให้ผู้ เรียนได้มีทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่21 เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะและสามารถนำใช้ชีวิตในสังคมศตวรรษที่21ได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งก็คือหลัก 7Cs หรือในปัจจุบันมีการรวมเข้ากับหลัก 3Rs ที่มีก่อนหน้า จนกลายเป็นหลัก 3Rs+7Cs ดังนี้
3Rs
-     Reading (อ่านออก)
-     Writing (เขียนได้)
-     Arithmetic (คิดเลขเป็น)
7Cs
-     Critical Thinking & Problem solving  คือทักษะในการคิดวิเคราะห์ หมายความว่าคุณต้องคิด เข้าใจ แก้ปัญหา
-     Creativity & Innovation คือทักษะที่เมื่อคุณคิดวิเคราะห์แล้ว คุณต้องสร้างสรรค์ได้ หรือสร้างนวัตกรรมใหม่ได้
-     Cross-Cultural understanding คือทักษะที่เน้นความเข้าใจในกลุ่มคนในหลากหลายชาติพันธ์ เพราะเราเป็นสังคมโลก
-     Collaboration Teamwork & leadership คือทักษะการทำงานเป็นทีม การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความเป็นผู้นำ คือเนื่องจากหากเราทำงานคนเดียว จะมีความเป็นปัจเจกสูง โตขึ้นเราจะไม่สามารถที่จะยอมรับคนอื่นได้ ความคิดเห็นมีทั้งด้านถูกและผิด ไม่มีอะไรบนโลกใบนี้ที่มัน 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นหาเราไม่ทำงานร่วมกันเป็นทีม แล้วเราจะขาดความสามัคคี ซึ่งเป็นปัญหาหลักของประเทศในขณะนี้
-     Communication information and media literacy  คือความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการรู้จักข้อมูล ความสามารถในการเข้าใจสื่อ ซึ่งเป็นสาระที่สำคัญ เพราะในโลกของ Digital age ในปัจจุบันข้อมูลข่าวสาร มีมากมาย website มีเป็นร้อยพันล้านเว็บ ข้อมูลหลั่งไหลเข้ามา สิ่งดีๆจากคนสร้างดีๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่นเดียวกัน สิ่งไม่ดีจากคนไม่ดี ก็มีมากมาย เราในฐานะผู้บริโภคข้อมูลอยู่ตลอดเวลาจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีความสามารถในการรับรู้ข้อมูล สื่อ และการสื่อสารต่อออกไปได้
-     Computing and ICT literacy  คือความสามารถในยุคของ Digital age เราต้องใช้เครื่องมือ เราต้องมีความสามารถในการใช้เครื่อง เราหลีกเหลี่ยงไม่ได้  เทคโนโลยี ที่ช่วยเราให้สะดวกมากขึ้น ถ้าเราหนีได้ก็แล้วไป หากหนีมันไม่ได้เราก็จำเป็นต้องมีความสามารถในการใช้มัน
-     Career and Life skill คือ ทักษะการใช้ชีวิต คือทักษะการประกอบอาชีพ มีความรับผิดชอบต่ออาชีพชีวิต และสังคม



1.  What is the purpose of the education? (มีจุดมุ่งหมายทางการศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจะ แสวงหา)

วิสัยทัศน์
      มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ และทักษะทางอิเล็กทรอนิกส์ในเรื่องทฤษฎี
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ ได้มากขึ้น
Curriculum Design
ปฏิบัติการ : ออกแบบการพัฒนาหลักสูตร ( Curriculum Design)
กระบวนการพัฒนาหลักสูตร/ความรู้/ทักษะ/ความสามารถ
การทำความรู้ให้กระจ่างแจ้
การระบุ การได้รับและการเข้าใจข้อมูลใหม่
ยืนยันความถูกต้องและการใช้ข้อมูลใหม่
ทฤษฎี
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ
การออกแบบหลักสูตร
การออกแบบหลักสูตรอาศัยแนวคิดจากคำถามข้อที่ 2 ของไทเลอร์ คือ การเลือกประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรที่ช่วยให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ (Tyler, 1969)
 หลัก7 ประการในการออกแบบหลักสูตร (7 principles of curriculum design)
        เป็นหลักคิดเพื่อการสร้างหลักสูตรที่ดีมีประสิทธิภาพ โดยได้กล่าวว่าการออกแบบการจัดการเรียนรู้หรือหลักสูตรนั้นต้องประกอบด้วยพื้นฐาน 7 ประการ คือ
Challenge and enjoyment (ค้นหาศักยภาพและความสุข) คือ หลักสูตรต้องได้รับการออกแบบให้นักเรียนได้ค้นหาศักยภาพและกระตุ้นนักเรียนให้มีความสนใจในการเรียนรู้
Breadths (ความกว้าง) คือ หลักสูตรที่ดีต้องเปิดกว้างในการเรียนรู้ เพราะการเรียนรู้มีได้หลากหลายแนวทาง
Progressions (ความก้าวหน้า) คือ หลักสูตรต้องออกแบบมาให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาไปสู้ความก้าวหน้าที่ผู้เรียนตั้งเป้าไว้
Depths (ความลึกซึ้ง) คือ หลักสูตรต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้อย่างลึกซึ้ง ที่สำคัญคือ หลักสูตรต้องให้โอกาสนักเรียนได้ใช้
Coherence (ความเกี่ยวข้อง) คือ หลักสูตรที่ดีต้องมีเนื้อหาและจุดประสงค์ที่สนองกับบริบทที่จะนำหลักสูตรไปใช้
 Relevance (ความสัมพันธ์กัน) คือ เนื้อหาในหลักสูตรต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับจุดประสงค์
 Personalization and choice (ความเป็นเอกลักษณ์และตัวเลือก) คือ หลักสูตรที่ดีต้องให้นักเรียนได้ค้นพบเอกลักษณ์ของตนเองและมีทางเลือกในการแสวงหาเอกลักษณ์ของตนเอง 
          การออกแบบหลักสูตร คือ การตัดสินใจเกี่ยวกับรูปร่างหรือการจัดเค้าโครงในการวางแผนพัฒนาหลักสูตร การออกแบบหลักสูตรจะเกี่ยวข้องกับการกำหนดจุดมุ่งหมายและจุดประสงค์ของหลักสูตร อันจะนำไปสู่การจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระ ช่วยให้ครูเลือกและจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เหมาะสมซึ่งจะเกี่ยวข้องกับภาระงาน  4 เรื่อง คือ จุดประสงค์  เนื้อหาสาระ ประสบการณ์การเรียนรู้การสอน และการประเมิน การออกแบบหลักสูตรที่แตกต่างกันให้คุณภาพที่หลากหลายทั้งความรู้และประสบการณ์ การออกแบบหลักสูตรต้องพิจารณาเรื่องเศรษฐกิจเป็นอันดับแรกและความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของการจัดการสอน การจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระและงานที่มอบหมาย เรื่องของเวลาและการจัดสรรทรัพยากร จะต้องตอบให้ได้ว่าผู้เรียนจะเรียนอะไร จะจัดโครงสร้างที่เรียนอย่างไร หลักสูตรจะแสดงในรูปแบบใดและจะจัดโครงสร้างอย่างไร ผู้ออกแบบหลักสูตรต้องตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้ 











2.  What educational experiences will attain the purposes? (มีประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัดขึ้นเพื่อช่วยให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้)

พันธกิจ
1.เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และเข้าใจความหมายมอเตอร์เหนี่ยวนำ
2.เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการวิเคราะห์หลักการทำงานของมอเตอร์เหนี่ยวนำ
3.เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการวิเคราะห์หลักการทำงานของมอเตอร์เหนี่ยวนำ 3 เฟส
4.เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และเข้าใจความหมายของมอเตอร์เหนี่ยวนำหนึ่งเฟส
5.เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และเข้าใจความหมายของมอเตอร์ยูนิเวอร์แซล
6.สามารถอธิบายความหมายมอเตอร์เหนี่ยวนำได้
7.สามารถบอกถึงหลักการทำงานของมอเตอร์เหนี่ยวนำได้
8.สามารถบรรยายถึงหลักการทำงานของมอเตอร์เหนี่ยวนำ 3 เฟสได้
9.สามารถอธิบายความหมายของมอเตอร์เหนี่ยวนำหนึ่งเฟสได้
10.สามารถอธิบายความหมายของมอเตอร์ยูนิเวอร์แซลได้






การจัดทำหลักสูตร
Curriculum  Organization
กระบวนการพัฒนาหลักสูตร/ความรู้/ทักษะ/ความสามารถ
การทำความรู้ให้กระจ่างแจ้
การระบุ การได้รับและการเข้าใจข้อมูลใหม่
ยืนยันความถูกต้องและการใช้ข้อมูลใหม่
ทฤษฎี
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ
การจัดทำหลักสูตร
       จากคำถามข้อที่ 3ที่กล่าวว่า จะจัดประสบการณ์ทางการศึกษาเหล่านั้นอย่างไรให้มีประสิทธิภาพนั้นโดยการจัดเรียงลำดับประสบการณ์การเรียนรู้ (organization of learning experiences) เป็นการประสบการณ์การเรียนรู้อย่างเป็นระบบ เรียงตามลำดับขั้นตอน ต้องมีเนื้อหาครบทุกด้าน ทั้งด้านความคิด หลักการ ค่านิยม และทักษะ ต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับธรรมชาติของผู้เรียน และธรรมชาติของเนื้อหาที่มีความแตกต่างกัน
           ใช้หลักการออกแบบหลักสูตรของ ออนสไตน์และฮันคินส์(Ornstein และ Hunkins. 1993 : 236 – 241) และ เฮนเสน (Hensen. 2001 : 199 - 201) กล่าวไว้สอดคล้องกันว่า การออกแบบหลักสูตรที่ดีต้องมีหลักในการ พิจารณา 6 ประการดังนี้
 1. การกำหนดขอบข่ายหลักสูตร ขอบข่ายของหลักสูตร (scope) หมายถึง การกำหนดเนื้อหา สาระการเรียนรู้ หัวข้อ ประเด็นสำคัญต่าง ๆ แนวคิด ค่านิยม หรือคุณธรรมที่สำคัญ สำหรับผู้เรียนในรายวิชาต่าง ๆ ของ หลักสูตรแต่ละระดับชั้น การกำหนดขอบข่ายจึงเป็นมิติของการจัดหลักสูตรให้มีความต่อเนื่องกัน การกำหนดขอบข่ายของหลักสูตร จะต้อง คำนึงถึงหลักเกณฑ์สำคัญ ดังนี้
1.1 วุฒิภาวะ ประสบการณและความสามารถของผูเรียน 1.2 ความยากง่ายของธรรมชาติในสาขาวิชา หรือเนื้อหาวิชา
1.3 ความทันสมัยและความเป็นสากลของเนื้อหาวิชา
1.4 ความสมดุลระหว่างความกว้าง ความลึกของเนื้อหาวิชา 1.5 คุณค่าของเนื้อหาที่ผู้เรียนจะนำไปใช้
2. การจัดลำดับการเรียนรู้ การจัดลำดับการเรียนรู้ (sequence) หมายถึง การจัดลำดับก่อนหลังของเนื้อหา สาระ การเรียนรู้หัวข้อ ประเด็นที่สำคัญต่าง ๆ ให้แก่ผู้เรียนได้เรียนรู้ไปตามวัยวุฒิภาวะ และ พัฒนาการทางสติปัญญา
การจัดลำดับการเรียนรู้ มีหลักเกณฑ์ที่สำคัญ ดังนี้
2.1 การจัดลำดับการเรียนรู้จากสิ่งที่ง่ายไปสู่สิ่งที่ ยากและซับซ้อน
2.2 การจัดลำดับการเรียนรู้จากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวไปสู่สิ่งที่อยู่ไกลตัว
2.3 การจัดลำดับการเรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรมไปสู่สิ่งที่เป็นนามธรรม
2.4 การจัดลำดับการเรียนรู้จากสิ่งที่เป็นส่วนร่วมไปสู่ส่วนย่อย หรือจากส่วนย่อย ไปสู่ส่วนร่วม
 2.5 การจัดลำดับการเรียนรู้ตามความจำเป็นที่ต้องเรียน ก่อน หลัง
2.6 การจัดลำดับการเรียนรู้ตามลำดับเหตุการณ์หรือตามกาลเวลา
 3. ความต่อเนื่อง ความต่อเนื่องของหลักสูตร (continuity) หมายถึง การจัดเนื้อหา ประสบการณ การเรียนรู้ ทักษะต่างๆ ให้มีความต่อเนื่องตลอดหลักสูตร หลักสูตรที่ดีนอกจากมีการจัดขอบข่าย และลำดับการเรียนรู้ที่ดีแล้ว ยังต้องมีความต่อเนื่องของเนื้อหาที่ เหมาะสมอีกด้วย
4. ความสอดคลองเชื่อมโยง การจัดหลักสูตรที่ดีควรคำนึงถึง ความสอดคล้องเชื่อมโยง (articulation) ให้มี ความต่อเนื่องกันของเนื้อหา ประสบการณ์การเรียนรู้ และทักษะที่อยู่ในระดับชั้นเดียวกัน
5. การบูรณาการ การบูรณาการ (integration) เป็นการจัดขอบข่ายเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้ ในหลักสูตรให้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงในแนวนอน จากหัวข้อหนึ่งไปยังอีกหัวข้อหนึ่งของ รายวิชานั้น หรือ จากรายวิชาหนึ่งไปยังอีกรายวิชาหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกัน
6. ความสมดุล หลักสูตรที่ดีนอกจากจะต้องคำนึงถึงการจัดขอบข่ายเนื้อหา และมีลำดับการเรียนรู้ ที่ดีแล้ว ยังควรต้องพิจารณาด้านความสมดุลของเนื้อหา (balance) ประสบการณ์การเรียนรู้ และ ทักษะของรายวิชาต่าง ๆ ความสมดุลระหว่างเนื้อหาสาระกับวุฒิภาวะของผู้เรียน ความสมดุลของ หลักสูตร จึงเป็นสิ่งที่นักพัฒนาหลักสูตรต้องให้ความสนใจ โอลิวา (Oliva. 1993 : 453 – 455) ได้ เสนอแนวทางในการพิจารณาความสมดุลของหลักสูตรไว้ดังนี้  6.1 หลักสูตรเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและหลักสูตรที่เน้นรายวิชา
6.2 ความต้องการของผู้เรียนและความต้องการของสังคม 6.3 ความต้องการเกี่ยวกับวิชาสามัญกับวิชาเฉพาะด้าน
6.4 ความกว้างและความลึกของเนื้อหาวิชา
6.5 เนื้อหาเกาแบบเดิมกับเนื้อหาที่ใหม่ทันสมัย
6.6 รูปแบบการเรียน หรือ learning styles ของนักเรียนแต่ละคน
6.7 ความแตกต่างระหว่างวิธีสอนแบบต่าง ๆ และประสบการณ์ทางการศึกษาของครู แต่ละคน
6.8 ความสมดุลระหว่างการเรียนกับการเล่น
6.9 แรงผลักดันของชุมชนและโรงเรียน
การนำหลักสูตรไปใช้
                การนำหลักสูตรไปใช้เป็นขั้นตอนสำคัญของการพัฒนาหลักสูตร เป็นกระบวนการดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆในการนำหลักสูตรไปสู่โรงเรียนและจัดการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้เป็นงานเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย ตั้งแต่ระดับกระทรวงศึกษาธิการ แต่ละฝ่ายมีความเกี่ยวข้องในแต่ละส่วนของการนำหลักสูตรไปใช้ เช่น หน่วยงานส่วนกลางเกี่ยวข้องในด้านการบริหารและบริหารหลักสูตรกับการนิเทศและติดตามผลการใช้หลักสูตร
                การนำหลักสูตรไปใช้จำต้องเป็นขั้นตอนตามลำดับ นับแต่ขั้นการวางแผน และเตรียมการในการประชาสัมพันธ์หลักสูตร และการเตรียมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ขั้นต่อมาคือการดำเนินการนำหลักสูตรไปใช้อย่างมีระบบ นับแต่การจัดครูเข้าสอนตามหลักสูตร การบริการวัสดุหลักสูตรและสิ่งอำนวยความสะดวกในการนำหลักสูตรไปใช้ และดำเนินการเรียนการสอนตามหลักสูตร
                ส่วนขั้นสุดท้ายต้องติดตามประเมินผลการนำหลักสูตรไปใช้ นับแต่การนิเทศติดตามผลการใช้หลักสูตร การติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ถือเป็นกระบวนการที่สำคัญ ที่จะทำให้หลักสูตรที่สร้างขึ้นบรรลุผลตามจุดหมาย และเป็นกระบวนการที่ต้องได้รับความร่วมมือจากบุคคลที่เกี่ยวข้องหลายๆฝ่าย และที่สำคัญที่สุดคือครูผู้สอน
หลักการที่สำคัญในการนำหลักสูตรไปใช้
1. จะต้องมีการวางแผนและเตรียมการ
2. จะต้องมีองค์คณะบุคคลทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นทำหน้าที่ประสานงานกัน
3. ดำเนินการอย่างเป็นระบบ
4. คำนึงถึงปัจจัยที่จะช่วยในการนำหลักสูตรไปใช้
5. ครูเป็นบุคคลที่สำคัญที่สุด ดังนั้น ครูจะต้องได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่และจริงจัง
6. จัดตั้งให้มีหน่วยงานที่มีผู้เชี่ยวชาญพิเศษ เพื่อให้การสนับสนุนและพัฒนาครู
7. หน่วยงานและบุคคลในฝ่ายต่างๆ ต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ
8. มีการติดตามและประเมินผลเป็นระยะๆ





ขั้นตอนการนำหลักสูตรไปใช้
1. ขั้นการเตรียมการใช้หลักสูตร
- การตรวจสอบลักษณะหลักสูตร
- การวางแผนและการทำโครงการศึกษานำร่อง
- การประเมินโครงการศึกษานำร่อง
- การประชาสัมพันธ์หลักสูตร
- การเตรียมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
2. ขั้นดำเนินการใช้หลักสูตร
 - การบริหารและบริการหลักสูตร
 -การดำเนินการเรียนการสอนตามหลักสูตร
 - การสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตร
3. ขั้นติดตามและประเมินผล
 - การนิเทศและการใช้หลักสูตรในโรงเรียน
 - การติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตร
การประเมินหลักสูตร
1. การตรวจสอบประสิทธิผลและความตกต่ำของคุณภาพของหลักสูตร
2. การตรวจสอบหาเหตุที่ทำให้คุณภาพตกต่ำ
3. แก้ไขและตรวจสอบประสิทธิผลของวิธีการที่นำมาแก้ไข

ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้
บทบาทของหน่วยงานส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นในการนำหลักสูตรไปใช้
1. การใช้หลักสูตรโดยหน่วยงานส่วนกลางที่มีบทบาทเต็มที่
2. การใช้หลักสูตรโดยให้โรงเรียนมีบทบาทเต็มที่
3.  การใช้หลักสูตรโดยให้หน่วยงานส่วนกลางมีบทบาทเป็นส่วนใหญ่ และมีหน่วยงานท้องถิ่นเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ
4. ใช้หลักสูตรโดยให้หน่วยงานส่วนท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญ และหน่วยงานส่วนกลางเป็นผู้ให้การสนับสนุน



3.  How can these experiences be effectively organized? (จะจัดประสบการณ์ทางการศึกษาอย่างไร จึงจะทำให้การสอนมีประสิทธิภาพ)

การพัฒนาหลักสูตร
1.ศึกษาข้อมูลพื้นฐานรายวิชา
2.ศึกษาข้อมูลความต้องการของผู้เรียน
3.วางแผนการสอน
4.ร่างแผนการสอน
5.จัดทำหลักสูตรรายวิชา/แผนการสอน
6.นำหลักสูตรรายวิชาไปใช้จริง
7.ประเมินผลหลักสูตรรายวิชาหลังจากนำหลักสูตรรายวิชาไปใช้จริง
8.แก้ไขปรับปรุงหลักสูตรรายวิชา
การประเมินหลักสูตร
Curriculum  Evaluation
กระบวนการพัฒนาหลักสูตร/ความรู้/ทักษะ/ความสามารถ
การทำความรู้ให้กระจ่างแจ้
การระบุ การได้รับและการเข้าใจข้อมูลใหม่
ยืนยันความถูกต้องและการใช้ข้อมูลใหม่
ทฤษฎี
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ
การประเมินหลักสูตร
    จากคำถามข้อที่ 4 มีความหมายว่า เราจะมีวิธีการประเมินผลประสิทธิภาพของประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไรจึงจะตัดสินได้ว่าบรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งจะคำถามนี้จะตรงกับหลักการประเมิน (Evaluation) โดยกระบวนการพัฒนาหลักสูตรมีการจัดการประเมินผลออกเป็น 2 ด้าน คือ
1.    การประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
2.    การประเมินหลักสูตร
การประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
                การกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้สอนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงเกณฑ์การกำหนดคุณภาพของ Bloom หรือ Bloom’s Taxonomy ซึ่งหากศึกษาดูแล้วเราจะพบว่า Bloom’s Taxonomy นั่นมีแนวโน้มที่จะถูกใช้โดยผู้สอนเสียเป็นส่วนมาก แต่ถ้าหากการกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียนนั้นมีผู้เรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดด้วยแล้ว หลักการที่จะต้องพูดถึงนั่นก็คือ SOLO Taxonomy ซึ่งเป็นการกำหนดระดับผลการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยที่ไม่มุ่งเน้นเฉพาะแค่การสอนและการให้คะแนนจากผลงานแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นกระบวนการประเมินผลที่ให้ความสำคัญว่า ผู้เรียนมีวิธีการเรียนรู้อย่างไร และผู้สอนมีวิธีการอย่างไรที่ช่วยให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการทางปัญญาที่มีความซับซ้อนและก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
·     
 Bloom’s Taxonomy
      การประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนจำเป็นต้องมีการกำหนดคุณภาพการเรียนรู้โดยเกณฑ์การกำหนดคุณภาพที่เป็นที่รู้จักแพร่หลายคือ Bloom’s Taxonomy โดยแบ่งระดับการเรียนรู้ออกเป็น 6 ระดับ หรือที่เรารู้จักกันดีในนามของ Bloom’s Taxonomy แบบดั้งเดิม จนกระทั่งปี 1990 นักจิตวิทยากลุ่มใหม่ นำโดย Lorin Anderson (ศิษย์ของ Bloom) ได้ทำการปรับปรุงกลุ่มพฤติกรรมขึ้นมาใหม่ ซึ่งได้นำคำกริยามาใช้ในการกำหนดระดับการเรียนรู้แทนคำนามตามแบบดั้งเดิมที่ Bloom ได้เคยกำหนดไว้ กล่าวโดยสรุปคือ Bloom’s Taxonomy แบบใหม่ เป็นการเปลี่ยนจากนามเป็นกริยาเพื่ออธิบายระดับที่แตกต่างกันของกลุ่มพฤติกรรรม

 การประเมินหลักสูตรแบ่งออกได้ 3 ขั้นตอน ดังนี้
1.  ขั้นพัฒนาหลักสูตร เป็นขั้นตอนการประเมินโครงร่างหลักสูตร
-          โครงสร้างหลักสูตร
-          ความมุ่งหมายของหลักสูตร
-          เนื้อหา
-          กิจกรรมการเรียนการสอน
-          อุปกรณ์ สื่อการสอน
-          การประเมินผลการเรียนการสอน
-          บรรยากาศในการเรียน
-          สิ่งแวดล้อมในสถาบันการศึกษา
2.  ขั้นการใช้หลักสูตร  เป็นขั้นตอนการประเมินหลักสูตรที่ใช้จริง
-          ประเมินในระหว่างดำเนินการใช้หลักสูตร (Formative evaluation)
-          ประเมินจุดเด่นและจุดด้อยของหลักสูตร
-          การจัดการเรียนการสอน
-          การบริหารหลักสูตร
3.  ขั้นผลิตผลของหลักสูตร  เป็นขั้นตอนของการประเมินติดตามผล
-          คุณภาพของบัณฑิต
-          การทำงานของบัณฑิต
-          ความพึงพอใจและความต้องการของนายจ้าง
      เมื่อคณะกรรมการร่างหลักสูตรเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก่อนจะนำหลักสูตรไปใช้จะต้อง ตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร เพื่อศึกษาความเป็นไปได้พร้อมทั้งปรับปรุงแก้ไขบางส่วนก่อน  นำไปใช้จริง การตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรทำได้หลายวิธี เช่น
-          วิธีการประชุมสัมมนา โดยให้ผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์ตรงในเรื่องนั้นตรวจสอบ
-          วิธีตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรโดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi technique)
-           การทดลองใช้หลักสูตรนำร่อง เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของหลักสูตร มีคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการทดลองใช้หลักสูตรแต่ละระยะอย่างมีระบบ เพื่อรวบรวมข้อมูลนำมาสังเคราะห์ สำหรับการปรับแก้ก่อนจะนำไปใช้ต่อไป




4.  How can we determine when the purposes are met? (จะประเมินผลประสิทธิภาพของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร  จึงจะตัดสินได้ว่าบรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้)
แผนการประเมิน
การวัดผล พิจารณา
1. คะแนนเก็บระหว่างเรียน    50 คะแนน
2.คะแนนสอบ
กลางภาค   20 คะแนน
3. คะแนนสอบ
ปลายภาค   20 คะแนน
4. คะแนนจิตพิสัย                                                                                                         10 คะแนน
รวมคะแนน 100คะแนน
เกณฑ์การประเมินผล
คะแนนระหว่าง80-100 ได้ระดับ4
คะแนนระหว่าง75-79 ได้ระดับ3.5
คะแนนระหว่าง70-74 ได้ระดับ3
คะแนนระหว่าง65-69 ได้ระดับ2.5
คะแนนระหว่าง60-64 ได้ระดับ2
คะแนนระหว่าง55-59 ได้ระดับ1.5
คะแนนระหว่าง50-54ได้ระดับ1
คะแนนระหว่าง0-49 ได้ระดับ0

1 ความคิดเห็น:

  1. Las Vegas: Casino & Hotel, Restaurants - Mapyro
    Welcome 영천 출장안마 to the most exciting place to get a taste of 경상북도 출장안마 Las Vegas, right on your casino floor. We have over 여주 출장샵 500 광주 출장샵 slots, video poker, 경상남도 출장마사지 table games and more!

    ตอบลบ