Curriculum planning
ยืนยันความถูกต้องและการใช้ข้อมูลใหม่
ยืนยันความถูกต้องและการใช้ข้อมูลใหม่
ปฏิบัติการ : วางแผนการพัฒนาหลักสูตร
( Curriculum Planning )
กระบวนการพัฒนาหลักสูตร/ความรู้/ทักษะ/ความสามารถ
|
การทำความรู้ให้กระจ่างแจ้ง
|
การระบุ
การได้รับและการเข้าใจข้อมูลใหม่
|
ยืนยันความถูกต้องและการใช้ข้อมูลใหม่
|
ทฤษฎี
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ
|
การวางแผนหลักสูตร
จากคำถามข้อที่ 1 คือการวางแผนในการกำหนดจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ว่า จะสอนอะไร
เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์แบบชั่วคราว หรือ Tentative
Objectives เราต้องดูว่าจะสอนอะไรเด็กและจะเอาอะไรมาสอน
ทั้งนี้ต้องอาศัยข้อมูลจากแหล่งต่างๆ หรือSourcesแหล่งแรกคือสังคม
ได้แก่ ค่านิยม ความเชื่อ และแนวปฏิบัติในการดำรงชีวิตในสังคม
โครงสร้างที่สำคัญในสังคม และความมุ่งหวังทางสังคม
แหล่งที่สองเกี่ยวกับผู้เรียนซึ่งเกี่ยวข้องกับความต้องการความสนใจความสามารถและคุณลักษณะที่ประเทศชาติต้องการ
แหล่งที่สามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ
ไทเลอร์ให้คำแนะนำการวางแผนหลักสูตร
3 ประเด็น คือ การเลือกประสบการณ์เรียนรู้
การจัดระบบโครงสร้างประสบการณ์เรียนรู้ และการประเมินผลการเรียนรู้
ซึ่งผู้สอนต้องจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่มุ่งจะ:
1. พัฒนาทักษะการคิด
2. ช่วยให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ
3. ช่วยให้ได้พัฒนาเจตคติเชิงสังคม
4.ช่วยให้ได้พัฒนาความสนใจ
ปรัชญาการศึกษา
1. ปรัชญาสารนิยม หรือสารัตถนิยม (Essentialism)
เป็นปรัชญาที่เชื่อว่า
การศึกษาเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดความรู้ความจริงทางธรรมชาติ
2. ปรัชญาสาขาสัจวิทยานิยม
หรือสัจนิยมวิทยา หรือนิรันตรนิยม(Perenialism)
เป็นปรัชญาที่เชื่อว่าโลกนี้มีบางสิ่งที่มีคุณค่าถาวร
ไม่เปลี่ยนแปลง ที่เราควรอนุรักษ์และถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังต่อไป
3. ปรัชญาพิพัฒนาการนิยม
หรือพิพัฒนนิยม หรือวิวัฒนาการนิยม(Progressivism)
เป็นปรัชญาที่มีความเชื่อว่าการดำรงชีวิตที่ดี
ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการคิดที่ดีและการกระทำที่เหมาะสม
4. ปรัชญาสาขาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism)
เป็นปรัชญาที่เชื่อว่า การปฏิรูปสังคม
เป็นหน้าที่ของสมาชิกของคนในสังคมทุกคน
และการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมได้
5. ปรัชญาสาขาอัตถิภาวนิยม
หรืออัตนิยม หรือสวภาพนิยม(Existentialism) เป็นปรัชญาที่เชื่อในความมีอยู่เป็นอยู่ของมนุษย์ มนุษย์แต่ละคนจะต้องกำหนดหรือแสวงหาสาระสำคัญ
(essence) ด้วยตนเอง
3Rs7Cs
เป็นหลักการเกี่ยวทักษะที่สำคัญที่ผู้เรียนพึงมีในศตวรรษที่21 ซึ่งหลักสูตรต้องส่งเสริมให้ผู้
เรียนได้มีทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่21 เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะและสามารถนำใช้ชีวิตในสังคมศตวรรษที่21ได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งก็คือหลัก 7Cs หรือในปัจจุบันมีการรวมเข้ากับหลัก 3Rs ที่มีก่อนหน้า
จนกลายเป็นหลัก 3Rs+7Cs ดังนี้
3Rs
-
Reading (อ่านออก)
-
Writing (เขียนได้)
-
Arithmetic (คิดเลขเป็น)
7Cs
-
Critical
Thinking & Problem solving คือทักษะในการคิดวิเคราะห์ หมายความว่าคุณต้องคิด เข้าใจ แก้ปัญหา
- Creativity & Innovation คือทักษะที่เมื่อคุณคิดวิเคราะห์แล้ว
คุณต้องสร้างสรรค์ได้ หรือสร้างนวัตกรรมใหม่ได้
- Cross-Cultural understanding คือทักษะที่เน้นความเข้าใจในกลุ่มคนในหลากหลายชาติพันธ์
เพราะเราเป็นสังคมโลก
- Collaboration Teamwork & leadership คือทักษะการทำงานเป็นทีม
การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความเป็นผู้นำ คือเนื่องจากหากเราทำงานคนเดียว
จะมีความเป็นปัจเจกสูง โตขึ้นเราจะไม่สามารถที่จะยอมรับคนอื่นได้
ความคิดเห็นมีทั้งด้านถูกและผิด ไม่มีอะไรบนโลกใบนี้ที่มัน 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นหาเราไม่ทำงานร่วมกันเป็นทีม
แล้วเราจะขาดความสามัคคี ซึ่งเป็นปัญหาหลักของประเทศในขณะนี้
- Communication information and media
literacy คือความสามารถในการสื่อสาร
ความสามารถในการรู้จักข้อมูล ความสามารถในการเข้าใจสื่อ ซึ่งเป็นสาระที่สำคัญ
เพราะในโลกของ Digital age ในปัจจุบันข้อมูลข่าวสาร
มีมากมาย website มีเป็นร้อยพันล้านเว็บ
ข้อมูลหลั่งไหลเข้ามา สิ่งดีๆจากคนสร้างดีๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่นเดียวกัน
สิ่งไม่ดีจากคนไม่ดี ก็มีมากมาย
เราในฐานะผู้บริโภคข้อมูลอยู่ตลอดเวลาจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีความสามารถในการรับรู้ข้อมูล
สื่อ และการสื่อสารต่อออกไปได้
- Computing and ICT literacy คือความสามารถในยุคของ Digital
age เราต้องใช้เครื่องมือ เราต้องมีความสามารถในการใช้เครื่อง
เราหลีกเหลี่ยงไม่ได้ เทคโนโลยี ที่ช่วยเราให้สะดวกมากขึ้น
ถ้าเราหนีได้ก็แล้วไป หากหนีมันไม่ได้เราก็จำเป็นต้องมีความสามารถในการใช้มัน
- Career and Life skill คือ ทักษะการใช้ชีวิต
คือทักษะการประกอบอาชีพ มีความรับผิดชอบต่ออาชีพชีวิต และสังคม
|
1. What is the purpose of the education? (มีจุดมุ่งหมายทางการศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจะ แสวงหา)
|
วิสัยทัศน์
มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้
และทักษะทางอิเล็กทรอนิกส์ในเรื่องทฤษฎี
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ ได้มากขึ้น
|
Curriculum Design
ปฏิบัติการ : ออกแบบการพัฒนาหลักสูตร ( Curriculum Design)
กระบวนการพัฒนาหลักสูตร/ความรู้/ทักษะ/ความสามารถ
|
การทำความรู้ให้กระจ่างแจ้ง
|
การระบุ การได้รับและการเข้าใจข้อมูลใหม่
|
ยืนยันความถูกต้องและการใช้ข้อมูลใหม่
|
ทฤษฎี
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ
|
การออกแบบหลักสูตร
การออกแบบหลักสูตรอาศัยแนวคิดจากคำถามข้อที่ 2 ของไทเลอร์ คือ การเลือกประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรที่ช่วยให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ (Tyler,
1969)
หลัก7 ประการในการออกแบบหลักสูตร (7 principles of
curriculum design)
เป็นหลักคิดเพื่อการสร้างหลักสูตรที่ดีมีประสิทธิภาพ โดยได้กล่าวว่าการออกแบบการจัดการเรียนรู้หรือหลักสูตรนั้นต้องประกอบด้วยพื้นฐาน 7 ประการ คือ
Challenge and enjoyment (ค้นหาศักยภาพและความสุข) คือ
หลักสูตรต้องได้รับการออกแบบให้นักเรียนได้ค้นหาศักยภาพและกระตุ้นนักเรียนให้มีความสนใจในการเรียนรู้
Breadths (ความกว้าง) คือ
หลักสูตรที่ดีต้องเปิดกว้างในการเรียนรู้ เพราะการเรียนรู้มีได้หลากหลายแนวทาง
Progressions (ความก้าวหน้า) คือ
หลักสูตรต้องออกแบบมาให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาไปสู้ความก้าวหน้าที่ผู้เรียนตั้งเป้าไว้
Depths (ความลึกซึ้ง) คือ หลักสูตรต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้อย่างลึกซึ้ง
ที่สำคัญคือ หลักสูตรต้องให้โอกาสนักเรียนได้ใช้
Coherence (ความเกี่ยวข้อง) คือ
หลักสูตรที่ดีต้องมีเนื้อหาและจุดประสงค์ที่สนองกับบริบทที่จะนำหลักสูตรไปใช้
Relevance (ความสัมพันธ์กัน)
คือ เนื้อหาในหลักสูตรต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับจุดประสงค์
Personalization and
choice (ความเป็นเอกลักษณ์และตัวเลือก) คือ
หลักสูตรที่ดีต้องให้นักเรียนได้ค้นพบเอกลักษณ์ของตนเองและมีทางเลือกในการแสวงหาเอกลักษณ์ของตนเอง
การออกแบบหลักสูตร คือ การตัดสินใจเกี่ยวกับรูปร่างหรือการจัดเค้าโครงในการวางแผนพัฒนาหลักสูตร
การออกแบบหลักสูตรจะเกี่ยวข้องกับการกำหนดจุดมุ่งหมายและจุดประสงค์ของหลักสูตร
อันจะนำไปสู่การจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระ
ช่วยให้ครูเลือกและจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เหมาะสมซึ่งจะเกี่ยวข้องกับภาระงาน 4 เรื่อง คือ จุดประสงค์ เนื้อหาสาระ
ประสบการณ์การเรียนรู้การสอน และการประเมิน
การออกแบบหลักสูตรที่แตกต่างกันให้คุณภาพที่หลากหลายทั้งความรู้และประสบการณ์
การออกแบบหลักสูตรต้องพิจารณาเรื่องเศรษฐกิจเป็นอันดับแรกและความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของการจัดการสอน
การจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระและงานที่มอบหมาย เรื่องของเวลาและการจัดสรรทรัพยากร
จะต้องตอบให้ได้ว่าผู้เรียนจะเรียนอะไร จะจัดโครงสร้างที่เรียนอย่างไร
หลักสูตรจะแสดงในรูปแบบใดและจะจัดโครงสร้างอย่างไร
ผู้ออกแบบหลักสูตรต้องตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้
|
2. What educational experiences will
attain the purposes? (มีประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัดขึ้นเพื่อช่วยให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้)
|
พันธกิจ
1.เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และเข้าใจความหมายมอเตอร์เหนี่ยวนำ
2.เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการวิเคราะห์หลักการทำงานของมอเตอร์เหนี่ยวนำ
3.เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการวิเคราะห์หลักการทำงานของมอเตอร์เหนี่ยวนำ
3 เฟส
4.เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และเข้าใจความหมายของมอเตอร์เหนี่ยวนำหนึ่งเฟส
5.เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และเข้าใจความหมายของมอเตอร์ยูนิเวอร์แซล
6.สามารถอธิบายความหมายมอเตอร์เหนี่ยวนำได้
7.สามารถบอกถึงหลักการทำงานของมอเตอร์เหนี่ยวนำได้
8.สามารถบรรยายถึงหลักการทำงานของมอเตอร์เหนี่ยวนำ 3
เฟสได้
9.สามารถอธิบายความหมายของมอเตอร์เหนี่ยวนำหนึ่งเฟสได้
10.สามารถอธิบายความหมายของมอเตอร์ยูนิเวอร์แซลได้
|
การจัดทำหลักสูตร
Curriculum Organization
กระบวนการพัฒนาหลักสูตร/ความรู้/ทักษะ/ความสามารถ
|
การทำความรู้ให้กระจ่างแจ้ง
|
การระบุ การได้รับและการเข้าใจข้อมูลใหม่
|
ยืนยันความถูกต้องและการใช้ข้อมูลใหม่
|
ทฤษฎี
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ
|
การจัดทำหลักสูตร
จากคำถามข้อที่ 3ที่กล่าวว่า จะจัดประสบการณ์ทางการศึกษาเหล่านั้นอย่างไรให้มีประสิทธิภาพนั้นโดยการจัดเรียงลำดับประสบการณ์การเรียนรู้ (organization
of learning experiences) เป็นการประสบการณ์การเรียนรู้อย่างเป็นระบบ
เรียงตามลำดับขั้นตอน ต้องมีเนื้อหาครบทุกด้าน ทั้งด้านความคิด หลักการ ค่านิยม
และทักษะ ต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับธรรมชาติของผู้เรียน
และธรรมชาติของเนื้อหาที่มีความแตกต่างกัน
ใช้หลักการออกแบบหลักสูตรของ ออนสไตน์และฮันคินส์ (Ornstein
และ Hunkins. 1993 : 236 – 241) และ เฮนเสน
(Hensen. 2001 : 199 - 201) กล่าวไว้สอดคล้องกันว่า
การออกแบบหลักสูตรที่ดีต้องมีหลักในการ พิจารณา 6 ประการดังนี้
1. การกำหนดขอบข่ายหลักสูตร
ขอบข่ายของหลักสูตร (scope) หมายถึง การกำหนดเนื้อหา
สาระการเรียนรู้ หัวข้อ ประเด็นสำคัญต่าง ๆ แนวคิด ค่านิยม หรือคุณธรรมที่สำคัญ
สำหรับผู้เรียนในรายวิชาต่าง ๆ ของ หลักสูตรแต่ละระดับชั้น
การกำหนดขอบข่ายจึงเป็นมิติของการจัดหลักสูตรให้มีความต่อเนื่องกัน การกำหนดขอบข่ายของหลักสูตร
จะต้อง คำนึงถึงหลักเกณฑ์สำคัญ ดังนี้
1.1 วุฒิภาวะ ประสบการณ และความสามารถของผูเรียน
1.2 ความยากง่ายของธรรมชาติในสาขาวิชา หรือเนื้อหาวิชา
1.3 ความทันสมัยและความเป็นสากลของเนื้อหาวิชา
1.4 ความสมดุลระหว่างความกว้าง ความลึกของเนื้อหาวิชา
1.5 คุณค่าของเนื้อหาที่ผู้เรียนจะนำไปใช้
2. การจัดลำดับการเรียนรู้ การจัดลำดับการเรียนรู้
(sequence) หมายถึง การจัดลำดับก่อนหลังของเนื้อหา สาระ
การเรียนรู้ หัวข้อ ประเด็นที่สำคัญต่าง ๆ ให้แก่ผู้เรียนได้เรียนรู้ไปตามวัยวุฒิภาวะ
และ พัฒนาการทางสติปัญญา
การจัดลำดับการเรียนรู้ มีหลักเกณฑ์ที่สำคัญ ดังนี้
2.1 การจัดลำดับการเรียนรู้จากสิ่งที่ง่ายไปสู่สิ่งที่
ยากและซับซ้อน
2.2 การจัดลำดับการเรียนรู้จากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวไปสู่สิ่งที่อยู่ไกลตัว
2.3 การจัดลำดับการเรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรมไปสู่สิ่งที่เป็นนามธรรม
2.4 การจัดลำดับการเรียนรู้จากสิ่งที่เป็นส่วนร่วมไปสู่ส่วนย่อย
หรือจากส่วนย่อย ไปสู่ส่วนร่วม
2.5 การจัดลำดับการเรียนรู้ตามความจำเป็นที่ต้องเรียน
ก่อน – หลัง
2.6 การจัดลำดับการเรียนรู้ตามลำดับเหตุการณ์หรือตามกาลเวลา
3. ความต่อเนื่อง
ความต่อเนื่องของหลักสูตร (continuity) หมายถึง การจัดเนื้อหา
ประสบการณ การเรียนรู้ ทักษะต่างๆ ให้มีความต่อเนื่องตลอดหลักสูตร
หลักสูตรที่ดีนอกจากมีการจัดขอบข่าย และลำดับการเรียนรู้ที่ดีแล้ว
ยังต้องมีความต่อเนื่องของเนื้อหาที่ เหมาะสมอีกด้วย
4. ความสอดคลองเชื่อมโยง
การจัดหลักสูตรที่ดีควรคำนึงถึง ความสอดคล้องเชื่อมโยง (articulation)
ให้มี ความต่อเนื่องกันของเนื้อหา ประสบการณ์การเรียนรู้
และทักษะที่อยู่ในระดับชั้นเดียวกัน
5.
การบูรณาการ การบูรณาการ (integration) เป็นการจัดขอบข่ายเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้
ในหลักสูตรให้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงในแนวนอน จากหัวข้อหนึ่งไปยังอีกหัวข้อหนึ่งของ
รายวิชานั้น หรือ จากรายวิชาหนึ่งไปยังอีกรายวิชาหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกัน
6.
ความสมดุล หลักสูตรที่ดีนอกจากจะต้องคำนึงถึงการจัดขอบข่ายเนื้อหา
และมีลำดับการเรียนรู้ ที่ดีแล้ว ยังควรต้องพิจารณาด้านความสมดุลของเนื้อหา (balance)
ประสบการณ์การเรียนรู้ และ ทักษะของรายวิชาต่าง ๆ ความสมดุลระหว่างเนื้อหาสาระกับวุฒิภาวะของผู้เรียน
ความสมดุลของ หลักสูตร จึงเป็นสิ่งที่นักพัฒนาหลักสูตรต้องให้ความสนใจ โอลิวา (Oliva.
1993 : 453 – 455) ได้ เสนอแนวทางในการพิจารณาความสมดุลของหลักสูตรไว้ดังนี้ 6.1 หลักสูตรเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและหลักสูตรที่เน้นรายวิชา
6.2
ความต้องการของผู้เรียนและความต้องการของสังคม 6.3 ความต้องการเกี่ยวกับวิชาสามัญกับวิชาเฉพาะด้าน
6.4
ความกว้างและความลึกของเนื้อหาวิชา
6.5
เนื้อหาเกาแบบเดิมกับเนื้อหาที่ใหม่ทันสมัย
6.6
รูปแบบการเรียน หรือ learning styles ของนักเรียนแต่ละคน
6.7
ความแตกต่างระหว่างวิธีสอนแบบต่าง ๆ และประสบการณ์ทางการศึกษาของครู
แต่ละคน
6.8
ความสมดุลระหว่างการเรียนกับการเล่น
6.9
แรงผลักดันของชุมชนและโรงเรียน
การนำหลักสูตรไปใช้
การนำหลักสูตรไปใช้เป็นขั้นตอนสำคัญของการพัฒนาหลักสูตร
เป็นกระบวนการดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆในการนำหลักสูตรไปสู่โรงเรียนและจัดการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
การนำหลักสูตรไปใช้เป็นงานเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย ตั้งแต่ระดับกระทรวงศึกษาธิการ
แต่ละฝ่ายมีความเกี่ยวข้องในแต่ละส่วนของการนำหลักสูตรไปใช้ เช่น
หน่วยงานส่วนกลางเกี่ยวข้องในด้านการบริหารและบริหารหลักสูตรกับการนิเทศและติดตามผลการใช้หลักสูตร
การนำหลักสูตรไปใช้จำต้องเป็นขั้นตอนตามลำดับ นับแต่ขั้นการวางแผน และเตรียมการในการประชาสัมพันธ์หลักสูตร
และการเตรียมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
ขั้นต่อมาคือการดำเนินการนำหลักสูตรไปใช้อย่างมีระบบ
นับแต่การจัดครูเข้าสอนตามหลักสูตร
การบริการวัสดุหลักสูตรและสิ่งอำนวยความสะดวกในการนำหลักสูตรไปใช้
และดำเนินการเรียนการสอนตามหลักสูตร
ส่วนขั้นสุดท้ายต้องติดตามประเมินผลการนำหลักสูตรไปใช้
นับแต่การนิเทศติดตามผลการใช้หลักสูตร การติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตร
การนำหลักสูตรไปใช้ถือเป็นกระบวนการที่สำคัญ ที่จะทำให้หลักสูตรที่สร้างขึ้นบรรลุผลตามจุดหมาย
และเป็นกระบวนการที่ต้องได้รับความร่วมมือจากบุคคลที่เกี่ยวข้องหลายๆฝ่าย
และที่สำคัญที่สุดคือครูผู้สอน
หลักการที่สำคัญในการนำหลักสูตรไปใช้
1. จะต้องมีการวางแผนและเตรียมการ
2. จะต้องมีองค์คณะบุคคลทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นทำหน้าที่ประสานงานกัน
3. ดำเนินการอย่างเป็นระบบ
4. คำนึงถึงปัจจัยที่จะช่วยในการนำหลักสูตรไปใช้
5. ครูเป็นบุคคลที่สำคัญที่สุด ดังนั้น
ครูจะต้องได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่และจริงจัง
6. จัดตั้งให้มีหน่วยงานที่มีผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
เพื่อให้การสนับสนุนและพัฒนาครู
7. หน่วยงานและบุคคลในฝ่ายต่างๆ ต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ
8. มีการติดตามและประเมินผลเป็นระยะๆ
ขั้นตอนการนำหลักสูตรไปใช้
1. ขั้นการเตรียมการใช้หลักสูตร
- การตรวจสอบลักษณะหลักสูตร
-
การวางแผนและการทำโครงการศึกษานำร่อง
- การประเมินโครงการศึกษานำร่อง
- การประชาสัมพันธ์หลักสูตร
- การเตรียมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
2. ขั้นดำเนินการใช้หลักสูตร
- การบริหารและบริการหลักสูตร
-การดำเนินการเรียนการสอนตามหลักสูตร
- การสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตร
3. ขั้นติดตามและประเมินผล
- การนิเทศและการใช้หลักสูตรในโรงเรียน
- การติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตร
การประเมินหลักสูตร
1.
การตรวจสอบประสิทธิผลและความตกต่ำของคุณภาพของหลักสูตร
2.
การตรวจสอบหาเหตุที่ทำให้คุณภาพตกต่ำ
3.
แก้ไขและตรวจสอบประสิทธิผลของวิธีการที่นำมาแก้ไข
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้
บทบาทของหน่วยงานส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นในการนำหลักสูตรไปใช้
1.
การใช้หลักสูตรโดยหน่วยงานส่วนกลางที่มีบทบาทเต็มที่
2.
การใช้หลักสูตรโดยให้โรงเรียนมีบทบาทเต็มที่
3.
การใช้หลักสูตรโดยให้หน่วยงานส่วนกลางมีบทบาทเป็นส่วนใหญ่
และมีหน่วยงานท้องถิ่นเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ
4.
ใช้หลักสูตรโดยให้หน่วยงานส่วนท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญ
และหน่วยงานส่วนกลางเป็นผู้ให้การสนับสนุน
|
3. How can these experiences be
effectively organized? (จะจัดประสบการณ์ทางการศึกษาอย่างไร
จึงจะทำให้การสอนมีประสิทธิภาพ)
|
การพัฒนาหลักสูตร
1.ศึกษาข้อมูลพื้นฐานรายวิชา
2.ศึกษาข้อมูลความต้องการของผู้เรียน
3.วางแผนการสอน
4.ร่างแผนการสอน
5.จัดทำหลักสูตรรายวิชา/แผนการสอน
6.นำหลักสูตรรายวิชาไปใช้จริง
7.ประเมินผลหลักสูตรรายวิชาหลังจากนำหลักสูตรรายวิชาไปใช้จริง
8.แก้ไขปรับปรุงหลักสูตรรายวิชา
|
การประเมินหลักสูตร
Curriculum Evaluation
กระบวนการพัฒนาหลักสูตร/ความรู้/ทักษะ/ความสามารถ
|
การทำความรู้ให้กระจ่างแจ้ง
|
การระบุ การได้รับและการเข้าใจข้อมูลใหม่
|
ยืนยันความถูกต้องและการใช้ข้อมูลใหม่
|
ทฤษฎี
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ
|
การประเมินหลักสูตร
จากคำถามข้อที่ 4
มีความหมายว่า
เราจะมีวิธีการประเมินผลประสิทธิภาพของประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไรจึงจะตัดสินได้ว่าบรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
ซึ่งจะคำถามนี้จะตรงกับหลักการประเมิน (Evaluation)
โดยกระบวนการพัฒนาหลักสูตรมีการจัดการประเมินผลออกเป็น 2 ด้าน คือ
1. การประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
2. การประเมินหลักสูตร
การประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
การกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ผู้สอนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงเกณฑ์การกำหนดคุณภาพของ Bloom หรือ
Bloom’s Taxonomy ซึ่งหากศึกษาดูแล้วเราจะพบว่า Bloom’s
Taxonomy นั่นมีแนวโน้มที่จะถูกใช้โดยผู้สอนเสียเป็นส่วนมาก
แต่ถ้าหากการกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียนนั้นมีผู้เรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดด้วยแล้ว
หลักการที่จะต้องพูดถึงนั่นก็คือ SOLO Taxonomy ซึ่งเป็นการกำหนดระดับผลการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยที่ไม่มุ่งเน้นเฉพาะแค่การสอนและการให้คะแนนจากผลงานแต่เพียงอย่างเดียว
แต่เป็นกระบวนการประเมินผลที่ให้ความสำคัญว่า ผู้เรียนมีวิธีการเรียนรู้อย่างไร
และผู้สอนมีวิธีการอย่างไรที่ช่วยให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการทางปัญญาที่มีความซับซ้อนและก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
·
Bloom’s Taxonomy
การประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนจำเป็นต้องมีการกำหนดคุณภาพการเรียนรู้โดยเกณฑ์การกำหนดคุณภาพที่เป็นที่รู้จักแพร่หลายคือ
Bloom’s Taxonomy โดยแบ่งระดับการเรียนรู้ออกเป็น 6
ระดับ หรือที่เรารู้จักกันดีในนามของ “Bloom’s
Taxonomy แบบดั้งเดิม” จนกระทั่งปี
1990 นักจิตวิทยากลุ่มใหม่ นำโดย Lorin Anderson (ศิษย์ของ Bloom) ได้ทำการปรับปรุงกลุ่มพฤติกรรมขึ้นมาใหม่ ซึ่งได้นำคำกริยามาใช้ในการกำหนดระดับการเรียนรู้แทนคำนามตามแบบดั้งเดิมที่ Bloom ได้เคยกำหนดไว้ กล่าวโดยสรุปคือ “Bloom’s
Taxonomy แบบใหม่” เป็นการเปลี่ยนจากนามเป็นกริยาเพื่ออธิบายระดับที่แตกต่างกันของกลุ่มพฤติกรรรม
การประเมินหลักสูตรแบ่งออกได้ 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นพัฒนาหลักสูตร เป็นขั้นตอนการประเมินโครงร่างหลักสูตร
- โครงสร้างหลักสูตร
- ความมุ่งหมายของหลักสูตร
- เนื้อหา
- กิจกรรมการเรียนการสอน
- อุปกรณ์
สื่อการสอน
- การประเมินผลการเรียนการสอน
- บรรยากาศในการเรียน
- สิ่งแวดล้อมในสถาบันการศึกษา
2. ขั้นการใช้หลักสูตร เป็นขั้นตอนการประเมินหลักสูตรที่ใช้จริง
- ประเมินในระหว่างดำเนินการใช้หลักสูตร
(Formative evaluation)
- ประเมินจุดเด่นและจุดด้อยของหลักสูตร
- การจัดการเรียนการสอน
- การบริหารหลักสูตร
3. ขั้นผลิตผลของหลักสูตร เป็นขั้นตอนของการประเมินติดตามผล
- คุณภาพของบัณฑิต
- การทำงานของบัณฑิต
- ความพึงพอใจและความต้องการของนายจ้าง
เมื่อคณะกรรมการร่างหลักสูตรเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ก่อนจะนำหลักสูตรไปใช้จะต้อง ตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร
เพื่อศึกษาความเป็นไปได้พร้อมทั้งปรับปรุงแก้ไขบางส่วนก่อน นำไปใช้จริง การตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรทำได้หลายวิธี เช่น
- วิธีการประชุมสัมมนา โดยให้ผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์ตรงในเรื่องนั้นตรวจสอบ
- วิธีตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรโดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi
technique)
- การทดลองใช้หลักสูตรนำร่อง เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของหลักสูตร
มีคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการทดลองใช้หลักสูตรแต่ละระยะอย่างมีระบบ
เพื่อรวบรวมข้อมูลนำมาสังเคราะห์ สำหรับการปรับแก้ก่อนจะนำไปใช้ต่อไป
|
4. How can we determine when the purposes
are met? (จะประเมินผลประสิทธิภาพของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร
จึงจะตัดสินได้ว่าบรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้)
|
แผนการประเมิน
การวัดผล
พิจารณา
1. คะแนนเก็บระหว่างเรียน
50 คะแนน
2.คะแนนสอบ
กลางภาค 20 คะแนน
3. คะแนนสอบ
ปลายภาค 20 คะแนน
4. คะแนนจิตพิสัย 10
คะแนน
รวมคะแนน 100คะแนน
เกณฑ์การประเมินผล
คะแนนระหว่าง80-100 ได้ระดับ4
คะแนนระหว่าง75-79 ได้ระดับ3.5
คะแนนระหว่าง70-74 ได้ระดับ3
คะแนนระหว่าง65-69 ได้ระดับ2.5
คะแนนระหว่าง60-64 ได้ระดับ2
คะแนนระหว่าง55-59 ได้ระดับ1.5
คะแนนระหว่าง50-54ได้ระดับ1
คะแนนระหว่าง0-49 ได้ระดับ0
|